วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ" การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
3. นวัตกรรมสื่อการสอน
4. นวัตกรรมการประเมินผล
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
1
หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
2
หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3
หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
4
หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ http://botany.sci.ku.ac.th/learn/http://cyberclass.msu.ac.th/

นวัตกรรมสื่อการสอน
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
- ชุดการสอน (Instructional Module)
- วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
- ฯลฯ

นวัตกรรมการบริหารจัดการ
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา
การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายของมัลติมีเดีย



1. ความหมาย “มัลติมีเดีย “

1.1 มัลติ ( Multi )
มัลติ คือ หลาย ๆ อย่างผสมรวมกัน
1.2 มีเดีย ( Media )

มีเดีย คือ สื่อ ข่าวสาร ช่องทางการสื่อสารเพื่อนำมารวมกัน เป็นคำว่า “มัลติมีเดีย”

มัลติมีเดีย ( Multimedia )
มัลติมีเดีย คือ การนำองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานรวมกัน ซึ่งประกอบด้วย ตัวอักษร ( Text ) ภาพนิ่ง ( Image ) ภาพเคลื่อนไหว ( Animation ) เสียง (Sound ) และวีดีโอ ( Video ) โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ ( Interactive Multimedia ) และได้บรรลุตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

2. องค์ประกอบของมัลติมีเดีย

2.1 ข้อความหรือตัวอักษร
ข้อความหรือตัวอักษร ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญของมัลติมีเดีย ที่นำเสนอผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากจะมีรูปแบบและสีของตัวอักษรให้เลือกมากมายตามความต้องการแล้วยังสามารถกำหนดคุณลักษณะของปฎิสัมพันธ์ ( โต้ตอบ ) ในระหว่างการนำเสนอได้อีกด้วย

2.2 ภาพนิ่ง ( Image )
ภาพนิ่งเป็นภาพที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด และภาพลายเส้น เป็นต้น แต่ภาพนั้นสามารถสื่อความหมายได้กับทุกชนชาติ ภาพนิ่งมักจะแสดงอยู่บนสื่อชนิดต่าง ๆ เช่น
โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือวารสารวิชาการ เป็นต้น

2.3 ภาพเคลื่อนไหว ( Animation )
ภาพเคลื่อนไหว หมายถึง ภาพกราฟฟิกที่มีการเคลื่อนไหวเพื่อแสดงขั้นตอนหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น การเคลื่อนที่ของอะตอมในโมเลกุล เป็นต้น เพื่อสร้างสรรค์จินตนาการให้เกิดแรงจูงใจจากผู้ชม

2.4 เสียง ( Sound )
เสียง เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของมัลติมีเดีย โดยจะถูกจัดเก็บอยู่ในรูปของสัญญาดิจิตอล ซึ่งสามารถเล่นซ้ำกลับไปกลับมาได้ โดยโช้โปรแกรมที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับทำงานด้านเสียงจะเกิดความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สร้างความน่าสนใจ น่าติดตาม เสียงจึงมีองค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถนำเข้าเสียงผ่านทางไมโครโฟน แผ่นซีดี เทปเสียง และวิทยุ เป็นต้น

2.5 วีดีโอ ( Video )
เนื่องจากวีดีโอในระบบดิจิตอลจะสามารถนำเสนอข้อความ หรือรูปภาพ ( ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว ) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น ๆ ปัญหาหลักของการใช้วีดีโอในระบบมัลติมีเดีย คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความทรงจำเป็นจำนวนมาก

3. ประโยชน์
- ง่ายต่อการใช้งาน
- สามารถได้ถึงความรู้สึก
- สร้างเสริมประสบการณ์
- เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้
- เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น
- คุ้มค่าในการลงทุน
- เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน

บทสรุป
“มัลติมีเดีย” เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่มีขีดความสามารถในการผลิตได้หลากหลายรูปแบบ การนำเสนอองค์ประกอบของสื่อชนิดต่าง ๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วยตัวอักษร
ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีโอ โดยผ่านกระบวนการทางระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อสื่อความหมายกับผู้ใช้อย่างมีปฏิสัมพันธ์และได้บรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน มัลติมีเดียทั้ง 5


http://learners.in.th/blog/s4885019/35052

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

ความสวยที่ลงตัว


เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา


การนำเอาเทคโนโลยีทางการศึกษาไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น เรามักจะพบ ว่าเมื่อสถานการณ์ของการใช้เปลี่ยนแปลงไป เช่น ชั้นเรียนที่ผู้เรียนเปลี่ยนไป หรือเวลาที่ต่างกัน สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อประสิทธิภาพของวิธีการที่ผู้สอนนำไปใช้ในการเรียนการสอนทั้งสิ้น ในกรณีที่ใช้วิธีการนั้นต่อไป ซึ่งนับว่าเป็นการใช้เทคโนโลยี แต่ในกรณีที่ประสิทธิภาพลดลง ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงวิธีการนั้น ๆ หรืออาจต้องหาวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ สิ่งใหม่ที่นำมาใช้หรือวิธีการที่ได้รับนำเอาการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพนี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
นวัตกรรม = นว (ใหม่) + อัตตา (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)
ในการดำเนินกิจกรรมด้านต่าง ๆ มักจะเผชิญปัญหาต่าง ๆ มากมายมนุษย์จึงพยายามสร้างนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่ไปสู่สภาพที่อยากเป็น นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องกับวงการต่าง ๆ เช่น นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการบริหาร นวัตกรรมทางการประมง นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

ลักษณะของนวัตกรรม สิ่งที่ต้องจัดว่าเป็นนวัตกรรม ควรประกอบด้วยลักษณะ ดังนี้

1. จะต้องเป็นการสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (creative) และเป็นความคิดที่สามารถปฏิบัติได้ (Feasible ideas)

2. จะต้องสามารถนำไปใช้ได้ผลจริงจัง (practical application)

3. มีการแพร่ออกไปสู่ชุมชน (diffusion through)

พัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษา

ชาวกรีกโบราณ ได้ใช้วัสดุและวิธีการในการสอนประวัติศาสตร์ และหน้าที่พลเมือง ด้วย การแสดงละครเพื่อสร้างเจตคติทางจรรยาและการเมือง ใช้ดนตรีเพื่อสร้างอารมณ์ และยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการศึกษานอกสถานที่ด้วย นอกจากนี้การสอนศิลปวิจักษ์ในสมัยนั้นได้ใช้รูปปั้น และงานแกะสลักช่วยสอน ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุในการสอนแทนการปาฐกถาอย่างเดียวเพลโต นักปราชญ์ชาวกรีก ได้ย้ำถึงความสำคัญของคำพูดที่ใช้กันนั้นว่า เมื่อพูดไปแล้วอะไรเป็นความหมายที่อยู่เบื้องหลังสิ่งนั้น จึงได้กระตุ้นให้ใช้วัตถุประกอบเพื่อช่วยให้เข้าใจได้ดีขึ้น

ฟรานซิส เบคอน (ค.ศ.1561-1626) สนับสนุนวิธีใหม่ ๆ แบบ Realism คือหันมายึดวัตถุและความคิด โดยเสนอแนะว่า การเรียนการสอนนั้น ควรให้ผู้เรียนได้รู้จักสังเกต พิจารณา เหตุผลในชีวิตจริง โดยครูเป็นผู้นำให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหาซึ่งจะต้องอาศัยการสังเกตพิจารณานั่นเอง
ไม่ใช่ครูเป็นผู้บอกเสียทุกอย่าง

โจฮันน์ อะมอส คอมินิอุส (Johannes Amos Comenius ค.ศ.1592-1670) เป็นผู้ที่พยายามใช้วัตถุ สิ่งของช่วยในการสอนอย่างจริงจัง จนได้รับเกียรติว่าเป็นบิดาแห่งโสตทัศนศึกษา คอมินิอุสได้แต่งหนังสือสำคัญ ๆ ไว้มากมาย ที่สำคัญยิ่งคือ หนังสือ Obis Sensualium Pictus หรือ "โลกในรูปภาพ" ซึ่งพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1685 เป็นหนังสือที่ใช้รูปภาพประกอบบทเรียน ถึง 150 ภาพ ซึ่งนับว่าเป็นการใช้ทัศนวัสดุประกอบการเรียนเป็นครั้งแรก

ธอร์นไดค์ (thorndike) เป็นนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกันที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการศึกษาประกอบหลักการทางจิตวิทยา โดยได้ทดลองทางจิตวิทยาเกี่ยวกับ การตอบสนองของสัตว์และมนุษย์ เขาได้ออกแบบสื่อการสอน เพื่อให้ตอบสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสอนแบบโปรแกรมจึงได้ชื่อว่า เป็นคนแรกที่ริเริ่มเทคโนโลยีการศึกษาแนวใหม่

บี เอฟ สกินเนอร์ (B.F.Skinner) เป็นผู้ใช้แนวความคิดใหม่ทางจิตวิทยาเกี่ยวกับสิ่งเร้าและผลตอบสนองโดยคำนึงถึงธรรมชาติของมนุษย์ เขาได้ทำการทดลองกับสัตว์โดยฝึกเป็นขั้น ๆ เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในการสอนแบบโปรแกรม และเป็นผู้ที่คิดเครื่องช่วยสอนได้เป็นผลสำเร็จเป็นคนแรก แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาปัจจุบัน ได้รากฐานมาจากแนวความคิดของสกินเนอร์เป็นส่วนมาก

สำหรับพัฒนาการทางเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยนั้น ได้มีการให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในด้านการจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา ในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ตลอดจนมีการเปิดการเรียนการสอนด้านเทคโนโลยีการศึกษาระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฉบับ พ.ศ.2542 ที่เน้นความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีนั่นเอง
http://www.nrru.ac.th/preelearning/rungrot/page01007.asp

ประเภทของสื่อการสอน


ประเภทของสื่อการสอน

เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์"


โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น

ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
ภาพเขียน (Drawing)
ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
ภาพตัด (Cut-out Pictures)
สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
ภาพถ่าย (Photographs)
ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
สไลด์ (Slides)
ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
ภาพยนตร์ (Video Tape)

2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
แผนภูมิ (Charts)
กราฟ (Graphs)
แผนภาพ (Diagrams)
โปสเตอร์ (Posters)
การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
รูปสเก็ช (Sketches)
แผนที่ (Maps)
ลูกโลก (Globe)



3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays)
กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard,Chalk Board)
กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards)
กระดานนิเทศ (Bulletin Boards)
กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards)
กระดานไฟฟ้า (Electric Boards)
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials)
มีหุ่นจำลอง (Models)
ของตัวอย่าง (Specimens)
ของจริง (Objects)
ของล้อแบบ (Mock-Ups)
นิทรรศการ (Exhibits)
ไดออรามา (Diorama)
กระบะทราย (Sand Tables)

5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials)
แผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials)
รายการวิทยุ (Radio Program)

6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays)
การทัศนาจรศึกษา (Field Trip)
การสาธิต (Demonstrations)
การทดลอง (Experiments)
การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing)
การแสดงหุ่น (Pupetry)

ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
จอฉายภาพ (Screen)
เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
เครื่องขยายเสียง(Amplifier)

อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

-------------------------------------------------------------------------------
ที่มา:คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ความหมายของเทคโนโลยี



เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ

Tech = Art ในภาษาอังกฤษ

Logos = A study ofดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art

ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป ได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้ เช่น
- เทคโนโลยีการเกษตร
: การคิดค้นวิธีการเครื่องมือ ปัจจัยในการผลิต ทางการเกษตร
- เทคโนโลยีการคมนาคมขนส่ง
: การคิดค้นเกี่ยวกับยานพาหนะ การเดินทาง การขนส่ง
- เทคโนโลยีการแพทย์
: การคิดค้นการตรวจรักษาโรค การผลิตยา และเครื่องมือทางการแพทย์
- เทคโนโลยีชีวิตประจำวัน
: การประดิษฐ์เสื้อผ้า เครื่องใช้ในที่อยู่อาศัย อุปกรณ์อำนวยความสะดวก
- เทคโนโลยีการสงคราม
: อาวุธนิวเคลียร์
- เทคโนโลยีการสื่อสาร
: การเก็บรวบรวมการค้นหา การส่งข้อมูลทั้ง ทางโทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ คอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยีการศึกษา
: วิธีการให้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับการวิธีการให้ การศึกษาสื่อการศึกษา และครุภัณฑ์ทางการ ศึกษา


สรุปเป็นประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ก็คือ ศาสตร์ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา การพัฒนา และการประยุกต์วัสดุ เครื่องมือ วิธีการ เพื่อนำมาใช้ในสถานการณ์การเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น

2. นักเทคโนโลยี (Technologist) คือผู้นำเอาเทคโนโลยีมาใช้

3. ช่างเทคนิค (Technician) คือผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับการซ่อมเครื่องมือเพื่อให้เครื่องมือทำงานได้ดีที่สุด

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2550

เริ่มเรียนรู้โปรแกรม Adobe Photoshop




มารู้จักกับส่วนต่างๆของโปรแกรม Adobe Photoshop
......................................................................................

เว็บมาสเตอร์พูดถึงโปรแกรม Adobe Photoshop โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานกราฟิคที่นิยมกันที่สุดในโปรแกรม ต่างๆโดยโปรแกรม ฯ สามารถสร้างงานกราฟฟิคออกมาได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นสร้างแบบ อักษรลักษณะต่างๆ และอีกทั้งยังนิยมมาแต่งภาพอีกด้วย โปรแกรมนี้จะมี Plug - in ซึ่งช่วยสร้าง Effect ต่างๆทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่ซ้ำกันและอีกทั้งยังสร้างความโดดเด่นให้กันงานอีกด้วยในบท เรียนจะเป็นการแนะนำโปรแกรมฯ อย่างคร่าวๆ
ส่วนต่างของโปรแกรม Adobe Photoshop ส่วนต่างคราวๆก็จะมี 4 ส่วนด้วยกันดังนี้



ส่วนที่1. เรียกกันว่า Menu bar เป็นส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรมก็จะประกอบด้วย File , Edit , Image , Layer , Select , Filter , View , Window , Help

1.File หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการจัดเก็บและเรียกใช้ไฟล์รูปภาพต่างๆ
2. Edit หมายถึง คำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขลักษณะของรูปภาพและ Image ต่างๆ
3. Image หมายถึง คำสั่งการจัดการรูปภาพและ Image ต่างเช่น การเปลี่ยนสีและการเปลี่ยนขนาด
4. Layer หมายถึง ชั้นหรือลำดับของรูปภาพและวัตถุที่เราต้องการจะทำ Effects
5. Select เป็นคำสั่งการเลือกพื้นที่หรือส่วนต่างของรูปภาพและวัตถุในการที่จะเล่น Effects ต่างๆ
6. Filter เป็นคำสั่งการเล่น Effects ต่างๆสำหรับรูปภาพและวัตถุ
7. View เป็นคำสั่งเกี่ยวกับมุมมองของภาพและวัตถุในลักษณะต่างๆ เช่น การขยายภาพและย่อภาพให้ดูเล็ก
8. Window เป็นส่วนคำสั่งในการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมต่างๆที่จำเป็นในการใช้สร้าง Effects ต่างๆ
9. Help เป็นคำสั่งเพื่อแนะนำเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมฯและจะมีลายละเอียดของโปรแกรมอยู่ในนั้น

....................................................................
ส่วนที่2.คือส่วนของอุปกรณ์ต่างที่เราใช้ในการสร้างชิ้นงานต่างหรือใช้ใน การตกแต่งภาพส่วนวิธีการใช้เราสอนในบทเรียนต่อไปในกราเรียก อุปกรณ์เราสามารถเรียกได้โดยมาที่ window ---> Show Tools

เมื่อเราคลิ๊กที่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งค้างใว้ก็จะเห็นอุปกรณ์นั้นจะมี หลายแบบให้เราเลือกโดยการสังเกตจากเครื่องหมายจุดสามเหลี่ยม บนตัวอุปกรณ์ และเมื่อดับเบิ้ลคลิ๊กก็จะปรากฏ Option ของอุปกรณ์นั้นขึ้นมา



ส่วนที่3. เป็นส่วนของพื้นที่ของไฟล์ใหม่ที่เราจะมาเริ่มต้นการสร้างชิ้นงานเราสามารถสร้างโดยคำสั่ง File --> New
เมื่อสร้างไฟล์ใหม่ก็จะปรากฏขึ้นมาดังภาพ
ก็จะมี Name = การตั้งชื่อหัวข้อเหนือไฟล์ Image Size = ขนาดความสูงความกว้างของ พื้นที่ Mode = เป็นการกำหนด Mode สีถ้า เป็นมาตรฐาน จะเ ป็น RGB Color Contents ก็จะเป็นลักษณะพื้นหลังก็จะมี White (สีขาว) , Background Color (สีที่เรากำหนด) , Transparent (สีพื้นแบบ - โปร่งใส,ไม่แสดงสีพื้นโล่ง)








ส่วนที่4. อุปกรณ์ควบคุมลำดับชั้นการทำงานของรูปภาพและวัตถุ
เมื่อเปิดโปรแกรมฯ ขึ้นมาก็จะพบอุปกร์นี้จะเรียกกันว่า Layer Layer เป็นอุปกรณ์คุมควบลำดับชั้นของ Image
เมื่อเรานำ Image มาวางซ้อนกันหลายๆอันก็จะเกิด Layer ขึ้นมาเราสามารถ ตั้งชื่อ Layer นั้นได้และสลับ Layer ได้จะมี Backgound อยู่ด้าน ล่างสุดเสมอ...






วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อวัสดุกราฟิก "สีไม้"



เรื่อง Family Members







กิจกรรมการเรียนการสอน
เรื่อง Family members
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เวลา 1 ชั่วโมง
1.ให้นักเรียนดูภาพ Family Members ที่เตรียมไว้แล้วถามนักเรียนว่า เห็นอะไรบ้าง? เป็นรูปภาพเกี่ยวกับอะไร? มีอะไรบ้างที่เห็นได้ชัดเจน แล้วนำเข้าสู่บทเรียน
2.ครูเสนอคำศัพท์ทีละคำดังนี้
1.Bridegroom
-Husband
2.Bride
- Wife
3. Grandfather
4. Grandmother
5. Father
6. Mother
7. Son
8. Daughter
9. Baby
โดยครูออกเสียงแล้วให้นักเรียนออกเสียงตาม

กิจกรรมที่ 1
ให้นักเรียนถาม-ตอบเป็นลูกโซ่ โดยเลือกคำถามที่กำหนดให้ดังนี้ (โดยใช้เวลาไม่เกิน 10 นาที)
· How many members in your family?
· How many brothers or sisters do you have?
· What is your father name?
· What is your mother name?
· Do you have a daughter?
· Do you have a baby?
· Do you have a husband?
· Do you have a wife?


กิจกรรมที่2 Fill in the blank
ให้นักเรียนเติมคำในช่องว่างให้สมบูรณ์
A: How many members in your family?
B: Six.
A: How many _________or sisters do you have?
B: I have a sister and a brother.
A: What is your father name?
B: my_________name’s Louis. What is your _________ name?
A: my mother name’s Lisa. Do you have a ________?
B: No, I don’t have a daughter.
A: Do you have a _______/_______?
B: no, I’m single

กิจกรรมที่ 3 ให้นักเรียนวาดรูป สมาชิกในครอบครัวของตนเอง ระบายสี พร้อมทั้งเขียนคำศัพท์ลงในรูป(ถ้าเวลาไม่พออาจส่งในชั่วโมงต่อไป)

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2550

ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชา นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้



-การสร้างสื่อโดยใช้สีไม้
-การออกแบบอักษรหัวข้อเรื่อง
-การสร้างบล็อก
-โปรแกรม power point

-การตัดภาพในใโปรแกรม Photoshop
-การออกแบบสื่อ
-การสร้างโฮมเพจ

ความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอน


ความหมายของสื่อการสอน
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษา ได้ให้คำจำกัดความของ “สื่อการสอน” ไว้อย่างหลากหลาย เช่น ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพ แผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน บราวน์ และคณะ กล่าวว่า จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดี ทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็นอย่างดี ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่า วัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่ง หรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ ยังมีคำอื่น ๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกับสื่อการสอน เป็นต้นว่า สื่อการเรียน หมายถึง เครื่องมือ ตลอดจนเทคนิคต่าง ๆ ที่จะมาสนับสนุนการเรียนการสอน เร้าความสนใจผู้เรียนรู้ให้เกิดการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจดีขึ้น อย่างรวดเร็ว สื่อการศึกษา คือ ระบบการนำวัสดุ และวิธีการมาเป็นตัวกลางในการให้การศึกษาความรู้แก่ผู้เรียนโดยทั่วไป โสตทัศนูปกรณ์ หมายถึง วัสดุทั้งหลายที่นำมาใช้ในห้องเรียน หรือนำมาประกอบการสอนใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยให้การเขียน การพูด การอภิปรายนั้นเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น

ประโยชน์ของสื่
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
ที่มาhttp://www.la.ubu.ac.th/Thai/Research/Data/Detail/COMPARE/unit2_2.html

สรุปการเรียน



สื่อการสอน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=1&sub2=1







สื่อการสอน เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างครูผู้สอนและเนื้อหาที่ครูเตรียมมาเพื่อถ่ายทอดไปสู่ตัวนักเรียน หากองค์ประกอบของสื่อการสอนขาดไปไม่มีช่องทางใดเลยจะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนได้

http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=2&sub2=1
ประเภทของสื่อการสอน

แนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มภาพ จะเป็นประสบการณ์ระดับที่ 7 ถึง 9 กลุ่มนามธรรม (Abstract) หมายถึง สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสัญลักษณ์ เช่น ตัวอักษร เครื่องหมาย หรือคำพูด ซึ่งเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่มีความเป็นนามธรรมมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกับกลุ่มอื่น เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับแนวคิดของเดล สื่อการสอนหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดอยู่ในกลุ่มนามธรรม

การแบ่งประเภทสื่อการสอนตามลักษณะของสื่อหรือวิธีการใช้งาน
การจัดประเภทของสื่อการสอนตามแนวคิดในกลุ่มนี้จะนำลักษณะทางกายภาพของสื่อการสอน หรือวิธีการใช้งานสื่อการสอนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดประเภทของสื่อการสอน แนวคิดการแบ่งประเภทสื่อการสอนในกลุ่มนี้ เช่น แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์ แนวคิดของอีลี และแนวคิดของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของอเมริกา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แนวคิดของเดอ คีฟเฟอร์
เดอ คีฟเฟอร์ (De Kieffer) แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (อ้างถึงใน กิดานันท์ 2540: 80)
1. สื่อประเภทใช้เครื่องฉาย (Projected Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉาย สไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น
2. สื่อประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย (Non projected Aids) ตัวอย่างเช่น ภาพนิ่ง แผนภูมิ ของจริง ของจำลอง เป็นต้น
3. สื่อประเภทเครื่องเสียง (Audio Aids) ตัวอย่างเช่น เครื่องบันทึกเสียง วิทยุ แผ่นเสียง เป็นต้น แนวคิดของอีลี

http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=2&sub2=2

การประเมินสื่อการสอน

การประเมินผลสื่อการสอนมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนหลายประการดังนี้
1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน และคุณภาพของการเรียนการสอนในการประเมินผลสื่อการสอนจะมีส่วนของการตรวจสอบการเกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้สื่อการสอนเป็นการอำนวยความสะดวกและนำทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การประเมินผลสื่อการสอนเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทำให้ได้ข้อมูลเพื่อยืนยันว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ อย่างไร เพียงใด หากไม่ทำการประเมินผลสื่อการสอน เราก็จะไม่มั่นใจว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นๆ ประสบผลสำเร็จหรือไม่ อย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินสื่อการสอนในแง่มุมเหล่านี้จะบ่งบอกถึงคุณภาพของการเรียนการสอนได้
2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการสอนการประเมินผลสื่อการสอนจะทำให้ได้ข้อมูลว่า สื่อได้รับการออกแบบมาอย่างถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ ในกระบวนการของการผลิตทำให้ได้สื่อการสอนตามที่ออกแบบไว้หรือเป็นตามที่ต้องการหรือไม่ และเมื่อนำสื่อการสอนที่ผลิตแล้วมาใช้งาน สามารถใช้งานได้จริงตามที่ออกแบบหรือที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกถึงคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการสอน ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือสมบูรณ์เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
3. เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นการประเมินผลสื่อการสอนในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของการทำวิจัยหรือการพัฒนา จะทำให้ได้ข้อมูลซึ่งบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอน ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นแนวทาง เป็นวิธีการ หรือเป็นรูปแบบใหม่ของสื่อการสอนหรือการใช้สื่อการสอน ซึ่งจะทำให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลดีต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
4. สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกใช้สื่อการสอนสื่อการสอนที่ได้รับการประเมินผลแแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะของสื่อและสถานการณ์ที่เหมาะสมจะนำสื่อการสอนนั้นๆ ไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ที่นำสื่อการสอนไปใช้ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการตัดสินใจเลือกนำสื่อการสอนแบบต่างๆ ไปใช้งาน


http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=study&chapter=5&sub1=4&sub2=1

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

การออกแบบสื่อ

ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการมำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
องค์ประกอบของการออกแบบ
กอ
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )